Asus เริ่มออกอัพเดต BIOS ให้กับบนเมนบอร์ดเวอร์ชั่นต่างๆ เพื่อรองรับ Windows 11

การจะใช้ Windows 11 นั้น จะต้องเปิดใช้งานชิป TPM (Trusted Platform Module) เช่น PTT ของฝั่ง Intel และ PSP fTPM ของฝั่ง AMD โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูรายการเมนบอร์ดที่รองรับ TPM สำหรับ Windows 11 แบบเต็มได้ ที่ลิงก์นี้

ประเด็นเรื่อง สเปกขั้นต่ำของ Windows 11 สร้างความสับสนให้ผู้ใช้อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องซีพียูที่รองรับ และชิป TPM (Trusted Platform Module) สำหรับความปลอดภัย

คำอธิบายของไมโครซอฟท์ตามช่องทางต่างๆ เริ่มมีรายละเอียดออกมามากขึ้น ดังนี้

ซีพียูที่รองรับ

ไมโครซอฟท์มีรายการซีพียูที่รองรับจากทั้ง 3 แบรนด์คือ AMD, Intel, Qualcomm โดยสรุปแบบคร่าวๆ คือ

  • AMD Ryzen 2000 ขึ้นไป
  • Intel Core 8th Gen ขึ้นไป
  • Qualcomm Snapdragon 850, 7c, 8c, 8cx, Microsoft SQ1/SQ2

กรณีของ Qualcomm คงไม่มีคำถามกันมาก แต่กรณีของซีพียู AMD/Intel ที่ไม่รองรับซีพียูรุ่นเก่าๆ เกิดคำถามตามมาว่าสุดท้ายแล้วจะได้อัพเกรดเป็น Windows 11 หรือไม่

คำตอบคือ ไมโครซอฟท์มีสเปกขั้นต่ำ 2 ส่วน ได้แก่ ขั้นต่ำจริงๆ (hard floor) เช่น สัญญาณนาฬิกา 1GHz, แรม 4GB, สตอเรจ 64GB ขึ้นไป กับสเปกขั้นต่ำที่แนะนำ (soft floor) ที่ยังสามารถลงได้ แต่จะได้รับข้อความแจ้งเตือนว่า “ไม่แนะนำให้อัพเกรด” ซึ่งรุ่นของซีพียูจะอยู่ในกลุ่มของ soft floor แปลว่าจะยังสามารถอัพเกรดได้

TPM

ประเด็นถัดมาคือเรื่องชิป TPM ที่ขั้นต่ำ (hard floor) คือเวอร์ชัน 1.2 แต่ที่แนะนำ (soft floor) เป็นเวอร์ชัน 2.0 แปลว่ายังไงก็ต้องมีชิป TPM อยู่ดี

เรื่องนี้ David Weston หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัย OS ของไมโครซอฟท์ อธิบายในทวิตเตอร์ว่าซีพียูที่มีอายุไม่เกิน 5-7 ปี มีชิป TPM อยู่ในตัวแล้ว แต่อาจต้องเปิดใช้ใน BIOS ก่อน

  • ซีพียู Intel เปิดใช้ PTT
  • ซีพียู AMD เปิดใช้ PSP fTPM

ทั้งนี้คงต้องรอความชัดเจนอีกครั้งหลัง Windows 11 ออกให้ทดสอบกัน ว่าสุดท้ายแล้วสเปกเครื่องแต่ละแบบจะสามารถอัพเกรดได้แค่ไหนกัน


About ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่

ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่