intel จะเลิกใช้ Tick-Tock จะเปลี่ยนไปใช้ Process-Architeture-Optimization แทน

โดยล่าสุดมีรายงานจากทางเว็ปไซต์ The Motley Fool โดยสืบเนื่องจากรายงานประจำปีของทาง Intel Corporation (FORM 10-K) ซึ่งได้มีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงเรื่องแผนการออกวางขาย CPU ใหม่ของทาง Intel ที่เดิมทีแล้วจะเป็นการเปิดตัวแบบ Tick – Tock โดยจะมีการใช้ CPU ที่ใช้ขบวนการผลิตครั้งนึงอยู่ที่ประมาณ 2 ปี แต่ตอนนี้ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากต่อไปนี้จะเปลี่ยนมาใช้หลักการเปิดตัวแบบ ‘Process-Architeture-Optimization’ แทน หรือเป็นจังหวะแบบ Three Element Cycle (สามจังหวะ) แทนครับ

โดยหลักการตลาดของ Intel Tick-Tock นี้ถือว่าเป็นแผนการเปิดตัว CPU ของ Intel ตลอดเกือบ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทุกๆปีแล้ว Intel ก็จะเปิดตัว CPU รุ่นใหม่ๆ โดยจะมีการลดขนาดขบวนการผลิต สลับกับพัฒนาพื้นฐาน CPU บนขบวนการผลิตเดิมสลับกันไปเรื่อยๆ เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการบริโภคพลังงาน และปรับแต่ง Microarchitecture และทุกครั้งที่มีจังหวะ Tick นั้น CPU จากทาง Intel ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับ Generation ก่อนหน้า หรือเรียกกันง่ายๆว่าเป็นการเปลี่ยน Generation ของหน่วยประมวลผลอย่างเต็มตัว .. แต่ตอนนี้ก็ต้องยอมรับกันตรงๆครับ จังหวะ Tick ที่จะต้องมาลดขนาดของขบวนการผลิตเนี่ยมันชักจะยากขึ้นทุกที ทำให้ทางบริษัทเองก็จำเป็นจะต้องพัฒนาตัวหน่วยประมวลผลให้ดีขึ้นบนขนาดขบวนการผลิตเดิมนั่นเอง ก็อย่างเช่น Intel Kaby Lake ที่กำลังจะเปิดตัวในปีนี้ ที่จะยังคงใช้ขบวนการผลิตแบบ 14nm เช่นเดียวกันกับ Skylake ซึ่งก็หมายความว่ามันไม่ใช่ Tick-Tock อีกต่อไป เพราะว่าถ้าตามแผนการ Tick-Tock แล้ว รุ่นที่จะต้องเปิดตัวในปี 2016 นี้ก็จะต้องเป็นรุ่นที่ใช้ขบวนการผลิต 10nm นั่นเองครับ

Tech

โดยภายในรายงานประจำปีของ Intel เองก็จะมีการเขียนว่า “จากขบวนการ R&D (Research and Development) ของเรา เราก็มีแผนที่จะเปิดตัว Microarchitecture ของ CPU ตระกูล Intel Core สำหรับอุปกรณ์ทั้ง Desktop, Notebook, Ultrabook และ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 2-in-1 ทั้งซีรียส์ธรรมดาและ Intel Xeon ด้วยระยะเวลาตามเดิม แต่เราจะทำการยืดเวลาการใช้งานของหน่วยประมวลผลที่ใช้ขบวนการผลิต 14nm ให้นานยิ่งขึ้น รวมไปถึงหน่วยประมวลผล Generation หน้าที่จะเป็นแบบ 10nm เช่นเดียวกัน แต่ยังไงก็ตาม เราก็จะยังคงเปิดตัวโปรดักส์รุ่นใหม่ทุกปีเหมือนเดิม” / ความซับซ้อนในขบวนการผลิตที่มากขึ้น (ยิ่งเล็กยิ่งยาก) ก็ทำให้การสร้าง Lithographic Node รุ่นใหม่นั้นยากมากขึ้นไปอีก โดยอันนี้ก็เทียบกับช่วงที่เป็น 22nm ลดลงมา 14nm ซึ่งช่วงนั้นจะไม่ซับซ้อนขนาดนี้ แต่ตอนนี้สถาปัตยกรรมเทคโนโลยี FinFET ที่ทาง Intel กำลังใช้อยู่กับ 14nm นั้นมีระยะเวลานานกว่า 22nm ก่อนที่จะถึงจุด Maturation

14nmYield

ตอนนี้ทาง Intel ก็มีแหล่งผลิตอยู่ที่ Ireland, Arizona และ Oregon ที่กำลังผลิต Wafer ของ Node ขนาด 14nm อยู่ โดยที่จะมี Israel มาช่วย Arizona และ Oregon ผลิต Node แบบ 22nm ซึ่งนอกจากนั้นแล้ว ทาง Intel ก็ยังมีสัญญากับบริษัทอื่นๆให้มาช่วยผลิตชิ้นส่วนต่างๆรวมไปถึงพัฒนา Node ที่จะใช้ในอนาคต อย่างเช่นบริษัท Rockchip นอกจากนั้นแล้วทาง Intel ก็จะยังเปลี่ยนการผลิตจากการใช้ Wafer ขนาด 300mm ไปใช้ Wafer ขนาด 450mm เพื่อลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

ตอนนี้ทาง Intel เองก็อาจจะต้องเจอการแข่งขันอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทคู่แข่งที่กำลังตีตื้นขึ้นมาอย่างเช่น Samsung, TSMC และ Global Foundaries ทำให้ Intel เองก็ต้องทำงานหนักมากขึ้นสำหรับทั้งตลาด Home Computing และตลาดระดับ Enterprise .. ซึ่งแผนการเปิดตัวใหม่ของ Intel นี้หลายๆคนก็อาจจะมองว่ามันทำให้ Intel เองดูเสียเปรียบหรือเปล่า ยิ่งในภาวะที่คู่แข่งทั้งหลายนั้นเตรียมพร้อมจะตีตื้นขึ้นมาทุกเมื่อ แต่ยังไงก็ตาม ทาง Intel นี้ก็ยังนำหน้าคู่แข่งอยู่ เพราะว่า Intel เองก็ได้เปิดตัว CPU แบบ 14nm ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2014 แล้ว ในขณะที่ Samsung เพิ่งเปิดตัว CPU แบบ 14nm ไปไม่นานมานี้ และ TSMC ก็เพิ่งเปิดตัว 16nm ไปไม่นานเท่าไหร่เช่นกัน .. ซึ่งตอนนี้อัตราส่วน ประสิทธิภาพต่อการบริโภคพลังงานนั้น Intel นั้นยังคงนำอยู่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเจอการแข่งขันที่ซีเรียสมากขึ้น และถ้า Intel ไม่เร่งพัฒนา CPU ออกมา ก็อาจจะเหนื่อยกว่านี้ในอนาคต

HistoricNode_575px

ตอนแรกที่ทาง Intel จะขบวนการผลิตเท่ากันเป็นเวลาสองปีนั้น ก็มีข้อดีสำหรับผู้บริโภคอยู่ซึ่งก็คือโปรดักส์ก่อนหน้านั้นจะมีอายุการใช้ งานยาวนานยิ่งขึ้นก่อนที่จะตกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Socket ที่จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้ลูกค้าทั้งกลุ่ม Home User และ Enterprise ยังใช้งานอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับของก่อนหน้าได้ ซึ่งหลายๆคนน่าจะเห็นกันอยู่แล้วว่าการพัฒนาของ Tick-Tock นั้นมีการพัฒนาไปในทางทิศทางใดบ้างระหว่างอายุขัยสองปีของขนาดกระบวนการ ผลิต ซึ่งในระยะต่อไปที่จะมาเปลี่ยนเป็น PAO นี้จะใช้ระยะเวลาสามปี ต่อขนาดขบวนการผลิตหนึ่งอัน เราก็ต้องมารอดูกันว่าภายในระยะเวลานี้ Intel จะหันมาพัฒนาอะไรเข้าไปเพิ่มเติมให้กับ Microarcitecture ที่มีอยู่ ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านประสิทธิภาพ , การบริโภคพลังงาน หรือว่า การปล่อยความร้อนที่น้อยลง หรือแม้กระทั่งอาจจะพัฒนาเน้นหลักๆในส่วนของหน่วยประมวลผลกราฟฟิคแบบ On-CPU ที่หลายๆคนใช้กันก็เป็นได้ทั้งนั้น .. เราเองก็ยังไม่รู้ว่าแต่ละ Generation ที่ใช้ขนาดขบวนการผลิตเดิมนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง Socket หรือ Chipset หรือเปล่า .. ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง Socket หรือ Chipset ตลอดสามปีนี้ ก็จะมีผลกระทบไปถึงผู้ผลิต Mainboard ด้วย เพราะว่าการเปิดตัว Mainboard ของผู้ผลิตแต่ละค่ายนั้น ก็จะต้องถูกยืดระยะเวลาออกไปอีก ทำให้ผู้ผลิต Mainboard เองก็ต้องมุ่งไปเน้นวิธีอื่นในการกระตุ้นยอดขาย แทนที่จะใช้แผนการเดิมของการเปิดตัว Socket และ Chipset ที่อ้างอิงจากทาง Intel มานานเกือบสิบปี

ที่มา overclockzone , ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่


About ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่

ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่