ข้อมูลสำหรับส่อง Week CPU Skylake รุ่นล่าสุดของ intel สำหรับคนชอบ overclock

ข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับคนที่ชื่นชอบและรักในการโอเวอร์คล๊อก ไม่ว่าจะโอเวอร์คล๊อกในแบบ Extreme ด้วย LN2 หรือจะโอเวอร์คล๊อกเพื่อใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน กับการจัดเก็บข้อมูลของรหัสหรือ Batch Number ของซีพียูในตระกูล Skylake สองรหัสในตระกูล K-SKU คือ Intel Core i7-6700K และ Intel Core i5-6600K ว่าในแต่ละรหัสนั้นมันมีความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกมากน้อยเพียงไร เพื่อใช้เป็นแนวทางก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อซีพียูสำหรับผู้ที่กำลังคิดหรือกำลังมองหา 6700K หรือ 6600K มาใช้งานกัน

จุดที่ใช้สำหรับส่องรหัสหรือ Batch ก็สามารถดูได้จากสองจุดคือ บนกระดองซีพียูหรือบนตัวกล่อง(ตามในกรอบสีแดง)

cpu-batch

สำหรับข้อมูลที่ออกมานั้นก็มาจากการไล่เก็บสถิติที่มีการโพสหรือการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันจากบรรดาขาโอฯทั้งหลายว่า ตนเองใช้ซีพียู Batch อะไรแล้วสามารถโอเวอร์คล๊อกได้ไกลขนาดไหน โดยสถิติหรือข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจากการอ้างอิงมีมากถึง 125 รายการและเป็น Batch โดยประกอบด้วยรหัสของซีพียูที่แตกต่างกันไปมากกว่า 66 รหัสเลยทีเดียว ก็ลองมาไล่ชมกันดูว่าซีพียูในรหัสไหนหรือ Batch อะไรบ้างที่มันดูแล้วจะมีโอกาสในโอเวอร์คล๊อกได้ในระดับที่ดี ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดของข้อมูลที่มีการอ้างอิงนั้นก็ถือว่าครบถ้วนในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบด้วยการใช้ระบบระบายความร้อนอะไร (Cooling), มีการเปิดกระดองหรือไม่ (Delidded), ไฟเลี้ยงเท่าไหร่ (Voltage) เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดก้ตามที่ปรากฏใน link ด้านล่าง

ตาราง Skylake Batches

จากข้อมูลที่ปรากฏออกมานั้น หากมองกันที่ซีพียูในโมเดล Core i7-6700K ความเร็วหรือความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกโดยเฉลี่ยที่ออกมา โดยมากก็จะอยู่ในช่วง 4.7-4.8GHz เป็นหลัก ส่วนความเร็วในฝันของใครหลายๆคนกับตัวเลขในระดับ 5GHz ก็มีให้เห็นอยู่ประปรายซึ่งไฟเลี้ยงที่ใช้ก็จะอยู่ในช่วง 1.4xV แต่หากว่าเป้นในโมเดล Core i5-6600K ดูแล้วจะมีโอกาสที่สูงกว่าสำหรับความเร็วในระดับ 5GHz

ทั้งนี้ก็ให้ลองสังเกตกันดูด้วยนะครับว่า แม้ตัวซีพียูจะเป็นรหัสเดียวกันเป๊ะๆ แต่ความสามารถที่ออกมานั้นก็ใช่ว่าจะทำได้เหมือนๆกัน แต่ก็ค่อนข้างมีความใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนเรื่องของระบบระบายความร้อนที่ในข้อมูลแจ้งว่าเป็น Air หรือใช้ฮีตซิงก์ลมและ AIO หรือ All in One WaterCooling (ชุดน้ำปิด) ก็ให้มองไปไกลอีกสักนิดด้วยว่า อุณหภูมิห้องที่ใช้ในการทดสอบที่น่าจะต่ำกว่าในบ้านเรามาก เพราะข้อมูลที่ออกมาส่วนใหญ่นั้นจะมาจากฝั่งยุโรป ดังนั้นอาจจะประเมินได้คร่าวๆที่เทียบได้กับว่าเล่นในห้องแอร์สำหรับบ้านเรา แต่กระนั้นจากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้เห็นกันไป ก็ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว เพราะอย่างน้อยๆมันก็จะช่วยเป็นแนวทางให้กับเราได้ระดับหนึ่ง ช่วยลดความเสี่ยงหรือเพิ่มความมั่นใจขึ้นมาได้มากกว่า CPU ที่เรากำลังจะซื้อน่าจะสามารถทำได้ดีกว่ารหัสอื่นๆ ที่เราไม่มีข้อมูลใดๆมาอ้างอิง

ที่มา zolkorn


About ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่

ซ่อมคอมพิวเตอร์เชียงใหม่